วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

คเณศจตุรถี วันคล้ายวันประสูติของพระคเณศ



คเณศจตุรถี วันคล้ายวันประสูติของพระคเณศ






                                     

















เทศกาลคเณศจตุรถี นับเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการบูชาพระพิฆเนศ จะกระทำในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวันกำเนิดของพระพิฆเนศ เชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ท่าน เทศกาลนี้มีการจัดพิธีกรรมบูชาและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วอินเดียและทั่วโลก มีการจัดสร้างเทวรูปพระพิฆเนศขนาดใหญ่โตมโหฬาร เพื่อเข้าพิธีบูชา จากนั้นจะแห่องค์เทวรูปไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่างๆ ถนนหนทางทั่วทุกหนแห่งจะมีแต่ผู้คนออกมาชมการแห่องค์เทวรูปนับร้อยนับพันองค์ ผู้ศรัทธาทุกคนแต่งชุดส่าหรีสีสันสวยงาม ขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี ฯลฯ แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำหรือทะเล
เทศกาลคเณศจตุรถีและพิธีกรรมต่างๆ กระทำกันมาแต่โบราณ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย และหนึ่งในพิธีกรรมที่กระทำกันก็คือ
"เอกวีสติ ปัตรบูชา" หรือการบูชาด้วยใบไม้ 21 ชนิดเป็นเวลา 21 วัน (อ่านเรื่องการบูชาด้วยใบไม้ได้จากหน้าแรก)
ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.2538 มีเหตุการณ์ที่ฮือฮากันมากที่สุดก็คือ ปรากฏการณ์ที่เทวรูปดื่มนมสดก็ปรากฏขึ้นมาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยซึ่งตรงกับเทศกาลประกอบพิธี คเณศจตุรถี หรือพิธีอุทิศต่อพระคเณศพอดีทำให้ปรากฏการดังกล่าวได้รับความสนใจไปทั่วโลก หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ผู้คนแตกตื่นพากันไปดูเทวรูปดื่มน้ำนมกันแพร่หลาย
 
ในวันที่ประกอบพิธีคเณศจตุรถีนั้น ประชาชนทั้งหลายต่างพากันมาทำสักการะบูชารูปเคารพของพระคเณศที่ปั้นด้วยดิน (เผา ) เครื่องบูชาจะประกอบไปด้วยดอกไม้ (โดยเฉพาะดอกไม้สีสดใส เช่น สีแดง, สีเหลือง, สีแสด,) ขนมต้ม, มะพร้าวอ่อน, กล้วย, อ้อย, นมเปรี้ยว,(แบบแขก) ขณะทำการบูชา ผู้บูชาจะท่อง พระนาม 108 ของพระองค์ หลังจากการบูชาแล้วก็จะเชิญพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีมาเลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญ และมีข้อห้ามในวันพิธีคเณศจตุรถีนี้คือ ห้ามมองพระจันทร์อย่างเด็ดขาด และถือกันว่าถ้าผู้ใดได้มองพระจันทร์ (เห็นพระจันทร์) โดยพลาดพลั้งเผลอเรอไป พวกชาวบ้านก็จะพากันแช่งด่าผู้นั้นทันที่ และที่ชาวบ้านด่านั้น ก็เป็นความหวังดี มิได้ด่าด้วยความโกรธแค้น แต่ด่าเพราะเชื่อกันว่าการด่าการแช่งนั้นจะทำให้คนๆนั้นพ้นจากคำสาปไปได้
ซึ่งความเชื่อนี้ มีเรื่องเล่าที่มาอยู่ 2 เรื่อง...คือสืบเนื่องมาจากการที่พระคเณศพลัดตกจากหลังหนูจนท้องแตก (เพราะหนูตกใจที่มีงูเห่าเลื้อยผ่านหน้า และพระคเณศเสวยขนมต้มมามาก) ขนมต้มทะลักออกมาพระคเณศ ก็รีบเก็บขนมต้มยัดกลับไปในพุง และจับงูเห่าตัวนั้นมารัดพุงขณะเดียวกันพระจันทร์ ก็เผอิญมาเห็นเข้าก็อดขำไม่ได้หัวเราะออกมาดังสนั่นพระคเณศโกรธยิ่งนัก เอางาขว้างไปติดพระจันทร์จนแน่น ทำให้โลกมืดลงทันที่ เพราะไฟดับ (เหมือนราหูอมจันทร์)
พระอินทร์และทวยเทพทั้งหลายทราบเรื่อง ก็ต้องพากันไปอ้อนวอน พระคเณศจึงยอมถอยเอางาออก แต่พระจันทร์ก็ต้องได้รับโทษอยู่คือ จะต้องเว้าๆแหว่งๆเป็นเสี้ยวๆไม่เต็มดวงทุกคืน จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ จึงจะเต็มดวง
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าพระคเณศสาปคนที่มองดูพระจันทร์ในวันที่บูชาพระองค์คือ หากใครมองดูพระจันทร์ในวันนี้ ผู้นั้นก็จะต้องกลายเป็นคนจัณฑาล และคนจัณฑาลในสังคมอินเดียจะเป็นที่รังเกียจของคนวรรณะอื่นๆทุกๆวรรณะ (เพราะถือว่าคนจัณฑาล ไม่มีชนชั้น เป็นชนชั้นต่ำ ) ดังนั้นคำสาปให้เป็นจัณฑาลจึงเป็นโทษร้ายแรงยิ่งนัก
พระพิฆเนศ ก็มีพระนามที่ศาสนิกชนเรียกขานและยกย่องเพื่อเป็นเกียรติอยู่ถึง 108 พระนาม
แต่ละพระนามล้วนมีความหมายที่ดี

แสดงถึงอานุภาพและความยิ่งใหญ่ขององค์พระพิฆเณศวร
พระนามทั้ง 108 นั้นจะมีบทสวดมนต์กำกับอยู่ ท่านผู้ศรัทธาสามารถสวดบูชา โดยเรียงตั้งแต่พระนามแรก
 ไปจนพระนามสุดท้าย
เพื่อยกย่องพระพิฆเนศ ตามโอกาสจะอำนวย เพื่อเป็นการสรรเสริญ ขอพร และขอความเมตตาจากองค์ท่าน
1. วินายักายะ - มหาเทพผู้ปกป้องสวรรค์
บทสวด : โอม วินายัก กายะ นะมะห์
2. วิฆะณะราชายะ - มหาเทพผู้ขจัดอุปสรรคทั้งหลาย
บทสวด : โอม วิฆะณะราชายะ นะมะห์
3. โคริปุ ปุตรายะ - มหาเทพโอรสแห่งพระแม่อุมา–โครี
บทสวด : โอม โคริปุ ปุตรายะ นะมะห์
4. คเณศวรายะ - มหาเทพแห่งคณะบริวาร
บทสวด : โอม คเณศวรายะ นะมะห์
5. สกันทานุชายะ - มหาเทพผู้เป็นเชษฐาแห่งพระขันทกุมาร
บทสวด : โอม สกันทานุชายะ นะมะห์
6. อวัยะยานะ - มหาเทพผู้ไร้รูปร่าง
บทสวด : โอม อวัยะยานะ นะมะห์
7. พูตายะ - มหาเทพผู้มีความรู้สึกอันบริสุทธิ์
บทสวด : โอม พูตายะ นะมะห์
8. ทักศาธยักศายะ - มหาเทพแห่งพระปชาบดีและเหล่าบรรพบุรุษ
บทสวด : โอม ทักศาธยักศายะ นะมะห์
9. ทวิชปริยายะ - มหาเทพผู้ถือกำเนิดสองครั้ง
บทสวด : โอม ทวิชปริยายะ นะมะห์
10. อัคนิ คะระ วัจหิเท - มหาเทพผู้ทำลายความยะโสแห่งพระอัคนีเทพ
บทสวด : โอม อัคนิ คะระ วัจหิเท นะมะห์
11. อินทระ ศรีประทายะ - มหาเทพผู้ปกป้องทรัพย์สมบัติแห่งพระอินทร์
บทสวด : โอม อินทระ ศรีประทายะ นะมะห์
12. นิพละปรทายะ - มหาเทพผู้ประทานพรที่ดีเลิศ
บทสวด : โอม นิพละปรทายะ นะมะห์
13. สวสิทธิปะรายักกะกายะ -
มหาเทพผู้ประทานอำนาจสูงสุดทั้งปวง
บทสวด : โอม สวสิทธิปะรายักกะกายะ นะมะห์
14. ศรวัฒนยายะ - มหาเทพโอรสแห่งพระศิวะเทพ
บทสวด : โอม ศรวัฒนยายะ นะมะห์
15. ศรวริปริยายะ - มหาเทพโอรสแห่งพระแม่อุมา
บทสวด : โอม ศรวริปริยายะ นะมะห์
16. สรวัฒะมักกายะ - มหาเทพผู้ได้รับการเคารพบูชาอย่างยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม สรวัฒะมักกายะ นะมะห์
17. ศรีษติกะธเตระ - มหาเทพผู้สร้างจักรวาล
บทสวด : โอม ศรีษติกะธเตระ นะมะห์
18. เววานิการะ จิตายะ - มหาเทพผู้ได้รับการกราบไหว้จากเหล่าเทวะ
บทสวด : โอม เววานิการะ จิตายะ นะมะห์
19. ศิวายะ - มหาเทพผู้เปรียบเสมือนองศ์พระศิวะเทพ
บทสวด : โอม ศิวายะ นะมะห์
20. ศุธิปริยายะ - มหาเทพผู้ประทานซึ่งสติปัญญา
บทสวด : โอม ศุธิปริยายะ นะมะห์
21. ศานตายะ - มหาเทพผู้ประทานซึ่งความสงบสุข
บทสวด : โอม ศานตายะ นะมะห์
22. พรหม มะ จาริเน - มหาเทพผู้ถือเพศพรต
บทสวด : โอม พรหม มะ จาริเน นะมะห์
23. คชานายะ - มหาเทพผู้มีเศียรเป็นช้าง
บทสวด : โอม คชานายะ นะมะห์
24. ทไวมาตุรายะ - มหาเทพผู้มีมารดา 2 พระองค์
บทสวด : โอม ทไวมาตุรายะ นะมะห์
25. มุนิสตุ คยายะ - มหาเทพผู้ได้รับการกราบไหว้จากเหล่าฤษี
บทสวด : โอม มุนิสตุ คยายะ นะมะห์
26. ภัคตวิฆนะ วินาศิเน -
มหาเทพผู้ทำลายความทุกข์ร้อนของสาวก
บทสวด : โอม ภัคตวิฆนะ วินาศิเน นะมะห์
27. เอกทันตยะ - มหาเทพผู้มีงาข้างเดียว
บทสวด : โอม เอกทันตะยะ นะมะห์
28. จตุรพาหเว - มหาเทพผู้มี 4 กร
บทสวด : โอม จตุรพาหเว นะมะห์
29. ศักดิสัมยุตายะ - มหาเทพผู้เปี่ยมด้วยพลังอำนาจ
บทสวด : โอม ศักดิสัมยุตายะ นะมะห์
30. จตุรายะ - มหาเทพผู้เป็นยอดปัญญา
บทสวด : โอม จตุรายะ นะมะห์
31. ลัมโพทรายะ - มหาเทพผู้มีพุงใหญ่โตดั่งจักรวาล
บทสวด : โอม ลัมโพทรายะนะมะห์
32. ศรุปกรนายะ - มหาเทพผู้มีใบหูอันใหญ่โต
บทสวด : โอม ศรุปกรนายะ นะมะห์
33. เหรัมภายะ - มหาเทพพระองค์แรกแห่งการกราบไหว้บูชา
บทสวด : โอม เหรัมภายะ นะมะห์
34. พรหม มะ วิตตะมายะ - มหาเทพผู้เป็นพราหมณ์สูงสุด
บทสวด : โอม พรหม มะ วิตตะมายะ นะมะห์
35. ลีลายะ - มหาเทพผู้มีลีลาอันวิจิตร
บทสวด : โอม ลีลายะ นะมะห์
36. พหปัตเย - มหาเทพแห่งดวงดาวทั้งหลาย
บทสวด : โอม พหปัตเย นะมะห์
37. กามิเน - มหาเทพแห่งความรัก
บทสวด : โอม กามิเน นะมะห์
38. โสมะสุรยาคนิ - 
มหาเทพผู้มีตรีเนตรเป็นพระอาทิตย์ พระจันทร์และพระเพลิง
บทสวด : โอม โสมะสุรยาคนิ นะมะห์
39. ปาศานะกุศัทรายะ - มหาเทพผู้ทรงบ่วงบาศก์และขอช้างเป็นอาวุธ
บทสวด : โอม ปาศานะกุศัทรายะ นะมะห์
40. คุนาติตายะ - 
มหาเทพผู้อยู่เหนือคุณลักษณะของธรรมชาติทั้ง 3 ประการ
บทสวด : โอม คุนาติตายะ นะมะห์
41. สิทธิวินายัก - มหาเทพผู้ทรงปกป้องโลกและสวรรค์
บทสวด : โอม สิทธิวินายัก นะมะห์
42. นิรันชนายะ - มหาเทพผู้ไร้ซึ่งรูปลักษณะ
บทสวด : โอม นิรันชนายะ นะมะห์
43. อักลัมศายะ - มหาเทพผู้เป็นอิสระจากมลทินทั้งปวง
บทสวด : โอม อักลัมศายะ นะมะห์
44. สวยัมสิทธาระจิตปทายะ - มหาเทพผู้ได้รับการกราบไหว้จากคนที่ดีเลิศ
บทสวด : โอม สวยัม สิทธาระ จิตปทายะ นะมะห์
45. พิชปุรกายะ - มหาเทพผู้เป็นรากฐานแห่งจักรวาล
บทสวด : โอม พิชปุรกายะ นะมะห์
46. อายักตายะ - มหาเทพผู้สันโดษ
บทสวด : โอม อายักตายะ นะมะห์
47. วรทายะ - มหาเทพผู้ประทานพรอันยิ่งใหญ่ทั้งปวง
บทสวด : โอม วรทายะ นะมะห์
48. วิทยะ ศปริยะ - มหาเทพผู้ประทานความรักและเมตตา
บทสวด : โอม วิทยะ ศปริยะ นะมะห์
49. ศัษะวตายะ - มหาเทพอันเป็นอมตะ
บทสวด : โอม ศัษะวตายะ นะมะห์
50. กฤติเน - มหาเทพผู้สร้างปัญญาอันยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม กฤติเน นะมะห์
51. วิตภายายะ - มหาเทพผู้ปราศจากซึ่งความกลัว
บทสวด : โอม วิตภายายะ นะมะห์
52. คทิเน - มหาเทพผู้ทรงตะบองใหญ่เป็นอาวุธ
บทสวด : โอม คทิเน นะมะห์
53. จักริเน - มหาเทพผู้ทรงจักรเป็นอาวุธ
บทสวด : โอม จักริเน นะมะห์
54. อิศุจาปะ ธรายะ - พระผู้ทรงศรแห่งความรัก
บทสวด : โอม อิศุจาปะ ธรายะ นะมะห์
55. อัมโยตะ ปะลักรายะ - มหาเทพผู้มีพระกรเหมือนดอกบัว
บทสวด : โอม อัมโยตะ ปะลักรายะ นะมะห์56. ศริษายะ - มหาเทพผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์สมบัติ
บทสวด : โอม ศริษายะ นะมะห์
57. ศรีปตเย - มหาเทพผู้ทรงเป็นวิษณุเทพ
บทสวด : โอม ศรี ปัตตะเย นะมะห์
58. สตุติ หะรศิตายะ - มหาเทพผู้ทรงโปรดการกล่าวสรรเสริญ
บทสวด : โอม สตุติ หะรศิตายะ นะมะห์
59. กุลทริเภเตระ - มหาเทพผู้เป็นเทือกเขาอันน่าสะพรึงกลัว
บทสวด : โอม กุลทริเภเตระ นะมะห์
60. ชิเต - มหาเทพผู้ทรงผูกมัดอันยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม ชิเต นะมะห์
61. จันทรจุทายะ - มหาเทพผู้ทรงมีพระจันทร์เสี้ยวประดับอยู่ที่หน้าผากของพระองค์
บทสวด : โอม จันทรจุทายะ นะมะห์
62. อมเรศวรายะ - มหาเทพผู้ทรงเป็นเทพเจ้าสูงสุด
บทสวด : โอม อมเรศวรายะ นะมะห์
63. นาคายัชโยปวิติเน - มหาเทพผู้มีพญานาคเป็นด้ายสายสิญจน์
บทสวด : โอม นาคายัชโยปวิติเน นะมะห์
64. สริกันตายะ - มหาเทพผู้มีพระศออันสวยงาม
บทสวด : โอม สริกันตายะ นะมะห์
65. รามาจิตตะ ปทายะ - มหาเทพผู้ได้รับการกราบไหว้จากพระราม
บทสวด : โอม รามาจิตตะ ปทายะ นะมะห์
66. วริตเน - มหาเทพผู้ท่องสวดมนต์อันเข้มแข็ง
บทสวด : โอม วริตเน นะมะห์
67. สตุลกันตายะ - มหาเทพผู้มีพระผู้มีศอเป็นช้าง
บทสวด : โอม สตุลกันตายะ นะมะห์
68. ตรยิก กรเตร - มหาเทพผู้สร้าง 3 โลก
บทสวด : โอม ตรยิก กรเตร นะมะห์
69. กวะเย - มหาเทพแห่งบทกวีที่ยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม กวะเย นะมะห์
70. สามะโฆศปริยายะ - มหาเทพผู้ทรงโปรดด้วยการท่องสวดพระเวททั้งหลาย
บทสวด : โอม สามะโฆศปริยายะ นะมะห์
71. ปุรุโศตมายะ - มหาเทพแห่งบรรพบุรุษ
บทสวด : โอม ปุรุโศตมายะ นะมะห์
72. สธุตันทายะ - มหาเทพผู้มีพระโอษฐ์อันกว้างไกล
บทสวด : โอม สธุตันทายะ นะมะห์
73. อัครคันตายะ - มหาเทพผู้เป็นใหญ่สูงสุด
บทสวด : โอม อัครคันตายะ นะมะห์
74. ครามันยะ - มหาเทพผู้ได้รับการกราบไหว้ในทุกศาสนา
บทสวด : โอม ครามันยะ นะมะห์
75. คณะปายะ - มหาเทพของบริวารแห่งพระศิวะเทพ
บทสวด : โอม คณะปายะ นะมะห์
76. สธิรายะ - มหาเทพผู้มีความมั่นคง
บทสวด : โอม สธิรายะ นะมะห์
77. วริทธิทายะกายะ - มหาเทพผู้ประทานความร่ำรวย
บทสวด : โอม วริทธิทายะกายะ นะมะห์
78. สุภคายะ - มหาเทพผู้มีความงดงามเป็นเลิศ
บทสวด : โอม สุภคายะ นะมะห์
79. ศุรายะ - มหาเทพผู้งดงามทั้งด้านนอกด้านใน
บทสวด : โอม ศุรายะ นะมะห์
80. วดิศายะ - มหาเทพผู้มีวาทศิลป์ที่ดีเลิศ
บทสวด : โอม วดิศายะ นะมะห์
81. สิทธิทากายะ - มหาเทพผู้ประทานสิทธิ์ทั้งหมด
บทสวด : โอม สิทธิทากายะ นะมะห์
82. ทุรวาพิลวะปริยายะ - มหาเทพผู้โปรดการบูชาด้วยใบพลูและหญ้าแพรก
บทสวด : โอม ทุรวาพิลวะปริยายะ นะมะห์
83. กานตายะ - มหาเทพผู้เป็นเทพเจ้าของมนุษย์ทั้งหลาย
บทสวด : โอม กานตายะ นะมะห์
84. บาปะหาริเน - มหาเทพผู้ทำลายบาปทั้งปวง
บทสวด : โอม บาปะหาริเน นะมะห์
85. สมาหิตายะ - มหาเทพผู้ประทานพลามัยที่ดี
บทสวด : โอม สมาหิตายะ นะมะห์
86. กฤตาคมายะ - มหาเทพผู้ปรารถนาดีต่อมนุษย์ทั้งปวง
บทสวด : โอม กฤตาคมายะ นะมะห์
87. วักรตุนทายะ - มหาเทพผู้มีพระพักตร์เป็นเส้นโค้งงดงาม
บทสวด : โอม วักรตุนทายะ นะมะห์
88. ศริปรทายะ - มหาเทพผู้ประทานซึ่งทรัพย์สมบัติ
บทสวด : โอม ศริปรทายะ นะมะห์
89. สมุยายะ - มหาเทพผู้มีแต่ความสงบสุข
บทสวด : โอม สมุยายะ นะมะห์
90. ทักตะ กานะ กษิตทานะ - มหาเทพผู้ปรารถนาดีต่อสาวกของพระองค์
บทสวด : โอม ทักตะ กานะ กษิตทานะ นะมะห์
91. อัชยุตายะ - มหาเทพผู้เป็นอมตะ
บทสวด : โอม อัชยุตายะ นะมะห์
92. ไกวัลยายะ - มหาเทพแห่งอิสรภาพ
บทสวด : โอม ไกวัลยายะ นะมะห์
93. สิทธายะ - มหาเทพผู้เป็นเทพเจ้าที่ดีสุด
บทสวด : โอม สิทธายะ นะมะห์
94. สุจิทานันทะวิคราหายะ - มหาเทพผู้มีความสัตย์อันยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม สุจิทานันทะวิคราหายะ นะมะห์
95. ญาณีเน - มหาเทพแห่งโยคะญาณ
บทสวด : โอม ญาณีเน นะมะห์
96. มายายุกตายะ - มหาเทพผู้มีมายาอันยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม มายายุกตายะ นะมะห์
97. ทานตายะ - มหาเทพแห่งทาน และการทำบุญ
บทสวด : โอม ทานตายะ นะมะห์
98. พรหม มัทเวศ - มหาเทพผู้ปราศจากความเกลียดชัง
บทสวด : โอม พรหม มัทเวศ นะมะห์
99. ปรมัตจะไทตยะ ยทายะ - มหาเทพผู้ซึ่งเหล่าอสูรเกรงกลัว
บทสวด : โอม ปรมัตจะไทตยะ ยทายะ นะมะห์
100. วยักตทุรัตเย - มหาเทพผู้เปี่ยมด้วยความสัตย์
บทสวด : โอม วยักตทุรัตเย นะมะห์
101. อรุตกายะ - มหาเทพผู้ไร้รูปร่าง
บทสวด : โอม อรุตกายะ นะมะห์
102. สรวโตมุขายะ - มหาเทพผู้อยู่ทุกหนแห่ง
บทสวด : โอม สรวโตมุขายะ นะมะห์
103. ปราติษัท นกะโรตสังคะ ตะขะละโนตสวายะ -มหาเทพผู้ประกอบพิธีบวงสรวงต่อพระศิวะ
บทสวด : โอม ปราติษัท นกะโรตสังคะ ตะขะละโนตสวายะ นะมะห์
104. สมัสตะ ขัคทาธารายะ - มหาเทพผู้ค้ำจุนจักวาล
บทสวด : โอม สมัสตะ ขัคทาธารายะ นะมะห์
105. วรษักะ วาหะนายะ - มหาเทพผู้มีหนูเป็นราชพาหนะ
บทสวด : โอม วรษักะ วาหะนายะ นะมะห์
106. หฤษตะ จิตตายะ - มหาเทพผู้มีความผาสุกตลอดกาล
บทสวด : โอม หฤษตะ จิตตายะ นะมะห์
107. ปรสัน สันนาตมะเมยะ - มหาเทพผู้ประทานความสมหวังต่อเหล่าสาวก
บทสวด : โอม ปรสัน สันนาตมะเม นะมะห์
108. ศรีวสิทธิปรทายะกายะ - มหาเทพผู้ประทานอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือธรรมชาติ
บทสวด : โอม ศรีวสิทธิปรทายะกายะ นะมะห์
ขั้นตอนการบูชา
การปฏิบัติในวันคเณศจตุรถี
การจัดพิธีเพื่อบูชาในวันคเณศจตุรถี
จาก – อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย (สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
มอบแด่ กลุ่มผู้ศรัทธาทุกท่าน
เนื่องในวันคเณศจตุรถี ปี พ.ศ.2556(จัดพิธีได้ตั้งแต่วันที่ 1-9 กันยายน พ.ศ.2556 วันใดก็ได้)
มีคำแนะนำดังต่อไปนี้
ทำ ความสะอาดเทวรูป ที่มีประดิษฐานอยู่ในบ้านทั้งหมด หากเทวรูปองค์ไหนใช้น้ำล้างได้ก็ล้างให้สะอาด ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง หากองค์ไหนอาจเสียหายจากการถูกน้ำ ให้ใช้ผ้าหรือแปรงปัดฝุ่นให้เรียบร้อย
2. จัดเตรียมอุปกรณ์
– ธูป หรือ กำยาน / พร้อมกระถางธูป หรือโถกำยาน
– เทียน 2 เล่ม ซ้ายขวา
หากมีตะเกียงน้ำมันก็จัดเตรียมไว้
– โต๊ะ 2 ตัว
ตัวหนึ่ง เรียกว่า “โต๊ะประดิษฐาน” สำหรับตั้งเทวรูป และถวายของ
ตัวหนึ่ง เรียกว่า “โต๊ะเตรียมของ” เพื่อวางของถวายเตรียมถวายไปที่โต๊ะตัวแรก
– อ่าง หรือ ชามใบใหญ่ หรือ ถาด เพื่อนำเทวรูป “องค์บูชา” ประดิษฐานลงไป รอรับการสรงน้ำ
– ปัญจอัมฤต ได้แก่ นมจืด, โยเกิร์ต, น้ำผึ้ง, เนย, น้ำอ้อย
– ผลไม้มงคล ตามแต่จัดหามา เน้นกล้วยหรือมะพร้าว รวมกันให้ได้ 5 ชนิดขึ้นไป
ผลไม้ให้บรรจุใส่ถาด ถ้วย จาน ชาม ฯลฯ สามารถใส่รวมกันหรือแยกภาชนะได้
– ขนมหวาน ไม่ใช้ขนมที่มีส่วนผสมของไข่
จัดมาอย่างน้อย 5 อย่างขึ้นไป ใส่ถ้วยให้เรียบร้อย แต่ละถ้วยไม่ต้องมีช้อน
– น้ำดื่มสะอาด เปิดขวดใหม่ จำนวน 2 ขวด
ขวดแรก ใช้ถวายทั้งขวด เปิดฝาแล้ววางถวายได้เลย
ขวดที่สอง ใช้สำหรับสรงสนาน โดยต้องมีแก้วน้ำเปล่าหนึ่งใบ และมีช้อนเล็กๆ ใส่ลงในแก้วด้วย เพื่อใช้ตักน้ำและสรงที่องค์เทวรูป
– ดอกไม้ (ดาวเรือง มะลิ กุหลาบ ดอกบัว ฯลฯ) จัดหามาให้มากๆ เน้นปริมาณ ให้ดูสดชื่น มีสีสัน
– เมล็ดข้าวสาร ใส่จาน
– เมล็ดถั่วต่างๆ ใส่จาน
– อัญเชิญเทวรูป “องค์บูชา” ที่เลือกแล้ว (สามารถโดนน้ำได้) ประดิษฐานลงไปในถาดหรืออ่าง
หยิบดอกไม้มาจำนวนหนึ่ง ถือไว้ในมือ ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วสวดคาถา…..
“…โอม ศรี คะเณศายะ นะมะหะ…ข้าพเจ้าขออัญเชิญพระศรีมหาคเณศวร มหาเทพแห่งความสำเร็จ ผู้ทรงพลังแห่งการสร้างสรรค์ การปกปักรักษา และการทำลาย โปรดเสด็จมาเพื่อประทับอยู่เป็นองค์ประธานในพิธีกรรมครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอถวายอภิวาทแด่พระองค์ ด้วยจิตศรัทธาอย่างเปี่ยมล้น ขอพระองค์โปรดเมตตาด้วยเถิด…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…”
จากนั้น วางดอกไม้ไว้ที่หน้า “พระบาท” ของพระพิฆเนศ
หยิบดอกไม้มาจำนวนหนึ่ง ถือไว้ในมือ ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วสวดคาถา…..
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…ข้าพเจ้าขอถวายดอกไม้อันเปรียบเสมือนที่ประทับแห่งพระองค์ ขอพระองค์โปรดรับเครื่องบรรณาการนี้ด้วยเถิด…อาสะนัม สะมะระปะยามิ…”
จากนั้น วางดอกไม้ไว้ที่หน้า “พระบาท” ของพระพิฆเนศ
แล้วหยิบเมล็ดข้าวสารจำนวนเล็กน้อย เทลงในกองดอกไม้นั้น
เปิดขวดน้ำ เทน้ำดื่มใส่แก้ว จากนั้นหยิบแก้วน้ำขึ้นมา มือซ้ายถือแก้วน้ำ มือขวาถือช้อน
ชูแก้วน้ำนี้ต่อหน้าพระพิฆเนศ แล้วสวดคาถา…..
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…น้ำจากสายพระคงคา และสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 สายจากการจาริกแสวงบุญโดยพระฤาษีมุนีผู้เป็นเลิศ บัดนี้ ได้ถูกน้ำมาแสดงต่อพระองค์แล้ว ข้าพเจ้าขอถวายน้ำล้างพระบาท ขอทรงสัมผัสความเย็นแห่งสายน้ำนี้ด้วยเถิด…ปาทะยัม สะมะระปะยามิ…”
ตักน้ำขึ้นมา เทลงไปที่ “พระบาท” ของพระพิฆเนศ จำนวน 3 ช้อน
ถือแก้วน้ำไว้ สวดคาถา…..
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…พระคเณศ ผู้ทรงหนูมุสิกะเป็นพาหนะคู่กาย พระองค์นำมาซึ่งความผาสุกแด่เหล่าสาวก ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…อะระฆะยัม สะมะระปะยามิ…”
ตักน้ำขึ้นมา เทลงไปที่ “พระหัตถ์ (มือ)” ของพระพิฆเนศ เทให้ครบทุกข้างๆ ละ 1 ช้อน
ถือแก้วน้ำไว้ สวดคาถา…..
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…พระคเณศ ผู้ทรงอำนาจเหนือหมู่มาร พระองค์ขจัดแล้วซื่งศัตรูทั้งปวง ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…อาจะมะนัม สะมะระปะยามิ…”
ตักน้ำขึ้นมา เทลงไปที่ “งวง” ของพระพิฆเนศ จำนวน 3 ช้อน
หยิบน้ำนมที่เตรียมไว้ขึ้นมา สวดคาถา…
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…ด้วยน้ำนมจากพระโค ผู้เป็นมารดาแห่งสัตว์ทั้งปวง สามารถชำระล้างจิตใจข้าพเจ้าให้ขาวบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าได้จัดหามาแล้ว ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…ปะยัสสะนานัม สะมะระปะยามิ…”
เทน้ำนมลงไปที่ “เศียร” ของพระพิฆเนศ จนหมดกล่อง (เทให้ชุ่มไปทั้งองค์เทวรูป)
หยิบโยเกิร์ต หรือ นมเปรี้ยวที่เตรียมไว้ขึ้นมา สวดคาถา…
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…นมเปรี้ยวอันมีรสชาติหอมชื่นใจ ดั่งอัมฤตจากพระจันทร์ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นของขวัญจากพระองค์ ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…ทะธิสะนานัม สะมะระปะยามิ…”
เทนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตลงไปที่ “เศียร” ของพระพิฆเนศ จนหมด (เทให้ชุ่มไปทั้งองค์เทวรูป)
หยิบน้ำผึ้งขึ้นมา สวดถาคา…
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…น้ำผึ้งอันหอมหวานนี้ ได้จากดอกไม้ธรรมชาติ ให้รสที่น่าพึงพอใจยิ่ง ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…มะธุสะนานัม สะมะระปะยามิ…”
เทน้ำผึ้ง (ตักจากโถ หรือ บีบจากหลอด) ลงไปที่ “เศียร” ของพระพิฆเนศ จนหมด (เทให้ชุ่มไปทั้งองค์เทวรูป)
หยิบเนยขึ้นมา สวดคาถา…
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…จากไขมันของพระโค พระองค์ประทานมาเพื่อสร้างความอบอุ่นแก่ข้าพเจ้า จึงจัดหามาถวายแด่พระคเณศ ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…ฆะรึตะสะนานัม สะมะระปะยามิ…”
ใช้ช้อนตักเนย ป้ายไปที่งวงพระพิฆเนศ จำนวน 1 ช้อน
หยิบขวดน้ำอ้อย หรือ แก้วน้ำเชื่อมขึ้นมา สวดคาถา…
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…น้ำจากต้นอ้อย มากด้วยประโยชน์นานาชนิด เป็นเครื่องบำรุงเลี้ยงชีวิตของข้าพเจ้าให้แข็งแรง ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าสู่ร่างกาย จึงจัดหามาถวายแด่พระคเณศ ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…ศะระกะราสะนานัม สะมะระปะยามิ…”
เทน้ำอ้อยหรือน้ำเชื่อม ลงไปที่ “เศียร” ของพระพิฆเนศ จนหมด (เทให้ชุ่มไปทั้งองค์เทวรูป)
ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุด ให้เทน้ำเปล่าใส่แก้ว เตรียมช้อนสะอาดไว้ สวดคาถา…
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…น้ำจากสายน้ำคงคา สายน้ำยะมุนา สายน้ำโคทาวารี สายน้ำสรัสวตี สายน้ำนัมมทา สายน้ำสินธุ และสายน้ำเคาวารี…น้ำจากสายน้ำอันศักดิ์สิทธิ์แห่งพระมหาเทพและพระมารดา ทั้งเจ็ดสายนี้ ได้มาแสดงต่อหน้าพระองค์แล้ว ข้าพเจ้าขอถวายการสรงสนานแด่พระองค์นับแต่บัดนี้…”
ตักน้ำขึ้นมา แล้วสรงไปที่องค์เทวรูป สรงให้ครบทุกส่วน สรงไปเรื่อยๆ
ทุกๆ ช้อนที่เทลงไปให้สวดพระคาถา “โอม ศรี คะเณศายะ นะมะหะ”
ถ้าน้ำหมดแก้ว ให้เทลงไปอีก จนนับได้ครบ 5 แก้ว
นำ ดอกไม้และพวงมาลัยทั้งหมดที่เตรียมไว้ที่ “โต๊ะเตรียมของ” มาวางถวายไว้หน้าองค์พระพิฆเนศ แล้วเลือกพวงมาลัยมาถือไว้ในมือพวงหนึ่ง สวดคาถา…
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…ขอถวายดอกไม้นานาชนิด เพื่อประดับตกแต่งพระองค์ให้แลดูสวยงาม ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…ปุษปัม..ปุษปะมาลัม สะมะระปะยามิ…”
นำพวงมาลัยที่ถือไว้วางลงไปบนกองดอกไม้ทั้งหมด (หากคนในครอบครัวมาร่วมด้วยก็ให้ถือคนละพวงและวางถวาย)
ถ้ามีกำยาน ให้จุดกำยานวางไว้ในโถเพียง 1 อัน
การจุดธูป ถ้าไหว้คนเดียว จุดธูป 8 ดอก
ถ้าไหว้หลายคน ผู้นำจุดธูป 5 ดอก คนในครอบครับจุดคนละ 3 ดอก
ถือธูปไว้ สวดคาถา…
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…กลิ่นหอมจากเปลือกไม้ แก่นไม้ และดอกไม้นานาชนิด แปรสภาพสู่ธูปและกำยานอย่างดี ข้าพเจ้าจึงขอถวายควันธูปเหล่านี้ ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…ธูปัม สะมะระปะยามิ…”
จาก นั้น ให้ทุกคนถือธูปด้วยมือขวา แกว่งมือเพื่อหมุนธูป ตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ เพื่อให้ควันกระจายฟุ้งไปทั่วบริเวณ แล้วค่อยปักธูปลงกระถางที่ตั้งไว้
จุดเทียน 2 เล่ม
หากมีตะเกียงน้ำมัน ให้จุดไว้ทั้งหมด
ผู้นำหยิบเทียนขึ้นมาเล่มหนึ่ง สวดคาถา…
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…แสงไฟจากพระสุริยะและพระอัคนี สือถึงพลังอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดแห่งองค์มหาเทพ-มหาเทวีทุกพระองค์ ประทานความสว่างสดใสแก่ดวงจิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงขอถวายแสงไฟเหล่านี้ ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…ทีปัม สะมะระปะยามิ…”
จากนั้นชูเทียนขึ้น หมุนตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ แล้วปักเทียนไว้ที่เดิม
นำข้าวสาร เมล็ดถั่ว ข้าวสุก ขนมหวาน ผลไม้ต่างๆ จากโต๊ะเตรียม ถือไว้คนละจาน สวดคาถา…
“…โอม คัง คะณะปะตะเย นะมะหะ…ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้จัดหาเครื่องสังเวยเหล่านี้มาถวาย เพื่อสื่อถึงความศรัทธาแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงรับเครื่องบรรณาการนี้ไว้ด้วยเถิด…ไนเวทะยัม สะมะระปะยามิ…”
จากนั้น นำของถวายทั้งหมดมาวางถวายที่หน้าองค์พระพิฆเนศ
คนที่ร่วมในพิธียืนขึ้นทั้งหมด พนมมือแล้วฟังผู้นำสวดคาถาดังต่อไปนี้
(หากใครสวดได้ก็ให้ร่วมสวด)
โอม เอกะทันตายะ วิทมาเห
วักกระตุนทายะ ธีมะหิ
ตันโน ตันติ ประโจทะยาต
สุริยะ โกติ สะมาประภา
นิระวิคะนัม คุรุเมเทวะ
สาระวะ การะเย ษุ สาระวะทา
กะปิตะชัมพูผะละจารุภักษะนัม
อุมาสุตัมโศกะวินาศะ การะกัม
นะมามิ วิฆะเนศะวะระ ปาทะ ปังกะชัม
นิรา นันทะมา นันทะมะ ทะไวตะ ปูระนัม
ปะรัม นิระคุณัม นิระวิเศษัม นิรีหัม
ปะระพรหมมะ รูปัม คะเณศัม ภะเชมา
ปะระพรหมมะ รูปัม คะเณศัม ภะเชมา
ปะระพรหมมะ รูปัม คะเณศัม ภะเชมา
จิตาภาสะกัน สะระวะคัม ยาณะคัมยัม
มุนิท เยยะมา กาศะรูปัม ปะเรศัม
ปะระพรหมมะ รูปัม คะเณศัม ภะเชมา
ปะระพรหมมะ รูปัม คะเณศัม ภะเชมา
ปะระพรหมมะ รูปัม คะเณศัม ภะเชมา
สุราทิม สุขะทิม คุเณศัม คะเณศัม
ชะคะ ทะวะยา ปินัม วิศวะ วันทะยัม สุเรศัม
ปะระพรหมมะ รูปัม คะเณศัม ภะเชมา
ปะระพรหมมะ รูปัม คะเณศัม ภะเชมา
ปะระพรหมมะ รูปัม คะเณศัม ภะเชมา
ข้า แต่องค์พระพิฆเนศ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ประกอบพิธีบูชาเพื่อสรรเสริญพระองค์เนื่องในวันคล้ายวัน ประสูติของพระองค์ในเทศกาลคเณศจตุรถีนี้ ด้วยจิตใจที่ถึงพร้อมด้วยความศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาพระองค์ด้วยความรัก ความศรัทธา พระองค์ผู้มีพระพักตร์อันงดงาม มีพระวรกายที่แข็งแกร่ง ทรงศาสตราวุธที่สามารถปราบอสูรร้ายให้ศิโรราบ ความสว่างอันเจิดจ้าดั่งแสงสุริยะนับล้านดวงได้แผ่กระจายออกมาจาก พระองค์…โอม…พระพิฆเนศผู้ทำลายความทุกข์โศก ขจัดอุปสรรคและความลำบากยากจนให้แก่ข้าพเจ้า นานาอุปสรรคที่ขัดขวาง ขอจงถูกทำลายด้วยน้ำมือของพระองค์ …และขอพระองค์โปรดประทานความสำเร็จทุกประการแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
โอม ศานติ…ศานติ…ศานติ
(ตั้งจิตเพื่อขอพรบอกกล่าวได้ตามความประสงค์)
– รอจนธูปหมดดอกแล้วจึงลาของถวายได้
เผยแพร่เพื่อการกุศลได้ ห้ามนำไปใช้หาผลประโยชน์ทางการค้าทุกรูปแบบ
และต้องให้เครดิต สำนักพิมพ์สยามคเณศ Siamganesh.com ทุกครั้ง
1. จัดเตรียมเทวรูป
ให้ เลือกเทวรูปพระพิฆเนศ 1 องค์ มาจากที่ผู้บูชามีประดิษฐานอยู่ในบ้าน โดยเลือกองค์ที่ขนาดไม่ใหญ่มาก ทำจากวัสดุที่โดนน้ำได้ เช่น หินแกะสลัก ทองเหลือง สำริด เรซิ่น ฯลฯ ไม่ควรเป็นเทวรูปไม้แกะสลัก เทวรูปปูนปั้น ดินปั้น หรือเทวรูปที่มีการตกแต่งประดับด้วยคริสตัลเพชรพลอย เพราะอาจทำให้เสียหาย องค์ที่เราเลือกมานี้ จะเรียกว่า “องค์บูชา”
3. จัดเตรียมเครื่องสังเวย
(ของถวายอื่นๆ สามารถจัดหามาเพิ่มเติมได้ ตามศรัทธา)
————————————————————————–
ขั้นตอนการประกอบพิธีบูชาพระพิฆเนศ เนื่องในคเณศจตุรถี
– ตั้ง อ่าง หรือ ชามใบใหญ่ หรือ ถาด วางไว้บนโต๊ะประดิษฐาน
– นำของอื่นๆ ทั้งหมดมาวางถวายไว้ที่โต๊ะเตรียม
– ขั้นตอน “อาวาหะนัม” (อัญเชิญพระพิฆเนศ)
– ขั้นตอน “อาสะนัม” (ถวายที่ประทับนั่ง)
– ขั้นตอน “ปาทะยัม” (ถวายน้ำล้างพระบาท)
– ขั้นตอน “อะระฆะยัม” (ถวายน้ำล้างพระหัตถ์)
– ขั้นตอน “อาจะมะนัม” (ถวายน้ำดื่ม)
– ขั้นตอน “ปะยัสสะนานัม” (ถวายน้ำนม)
– ขั้นตอน “ทะธิสะนานัม” (ถวายนมเปรี้ยว หรือ โยเกิร์ต)
– ขั้นตอน “มะธุสะนานัม” (ถวายน้ำผึ้ง)
– ขั้นตอน “ฆะรึตะสะนานัม” (ถวายเนย)
– ขั้นตอน “ศะระกะราสะนานัม” (ถวายน้ำอ้อย หรือ น้ำตาลทรายผสมน้ำ (น้ำเชื่อม) )
– ขั้นตอน “คงคาสะนานัม” (ถวายน้ำอาบ)
– ขั้นตอน “ปุษปัม ปุษปะมาลัม” (ถวายดอกไม้)
– ขั้นตอน “ธูปัม” (ถวายธูปและกำยาน)
– ขั้นตอน “ทีปัม” (ถวายแสงเทียน)
– ขั้นตอน “ไนเวทะยัม” (ถวายเครื่องสังเวย)
– ขั้นตอน “มันตรัม” (ถวายมนต์บูชา)
โอม ศรี คะเณศายะ นะมะหะ (3 จบ)
โอม วักกระตุณทะ มหากาย
โอม คะชานะนัม ภูตะคะนาธิเสวิตัม
อะชัม นิระวิกะละปัม นิราการะเมกัม
คุณาติ ตะมานัม จิตานันทะรูปัม
ชะคัต การะนัม การะนะ ยาณะรูปัม
ให้ผู้นำกล่าวคำต่อไปนี้ ผู้ร่วมพิธีว่าตาม…
– เสร็จสิ้นพิธี
ขอให้ทุกคนโชคดีเนื่องในคเณศจตุรถีนี้นะครับ / พิทักษ์ (สยามคเณศ)
เอกวีสติ ปัตรบูชา









                                                                                           





















ใบมาจี (Machi or Macikkai) หรือใบมาจีบัตร มีชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Imprerata Cylindrica ตรงกับต้นหญ้าคาของไทยพร้อมกับคำบูชาว่า"สุขุมาย นมะ มาจีปตรํ ปูชยามิ " ภาพแรกอ้างอิงมาจาก HinduPad ซึ่งหน้าตาจะแตกต่างจากการตีความของไทย

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.500059130005943.123937.139371209408072&type=3


ใบพฤหตี (Brihati or chitti mulaga) ชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Carissa Carandas ตรงกับชื่อภาษาไทยว่า หนามแดง มะนาวไม่รู้โห่ หนามขี้แฮด หนามพรหม มีคำกล่าวบูชาว่า "คณาธิปาย นมะ พฤหตีปตรํ ปูชยามิ" 


ใบพิลว (Bilva or Maredu) คือใบมะตูม มีคํากล่าวบูชาว่า "อุมาปุตราย นมะ พิลวตรํ ปูชยามิ "


ใบทูรวา (Durva Grass) ชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Cynodon Daetylon คือหญ้าแพรก คำกล่าวบูชาว่า "คชานนาย นมะ ทูรวายุคมํ ปูชยามิ"


ใบทุตูระ (Datura) ชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Stramonium คือต้นลำโพง หรือ ชุมเห็ดเทศ ใช้แก้พิษแมลงกัดต่อยได้ดี คำกล่าวบูชาว่า "หรสูนเว นมะ ทุตตูรปตรํ ปูชยามิ "


ใบพทรี (Badari) คือใบพุทรา มีคำกล่าวบูชาว่า "ลบโพทราย นมะ พทรีปตรํ ปูชยามิ"


ใบอปามารค (Apa Marga) ชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Achyrantus Aspera คือต้นพันธุ์งู ใช้รักษาพิษจากสัตว์กัดต่อย โดยใช้ใบมาคั้นน้ำ มีคำกล่าวบูชาว่า "คุหาครูชาย นมะ อปามารคปตรํ ปูชยามิ"


ใบตุลสี (Tulsi) คือใบกะเพรา มีคำกล่าวบูชาว่า "คชกรณาย นมะ ตุลสีปตรํ ปูชยามิ" แต่ก็มีบางตำราที่ว่าไม่ควรนำใบกะเพรามาบูชาเนื่องจากมีตำนานหนึ่งเล่าว่าขณะที่พระคเณศกำลังเดินทางอยู่บริเวณแม่น้ำคงคา มีเจ้าหญิงพระนามว่าธรรมวาจา (Dharmadwaja) เกิดทอดพระเนตรเห็นและหลงรักพระคเณศเข้า แต่พระคเณศปฏิเสธ นางจึงสาบพระพิฆเนศให้ไร้คู่ พระพิฆเนศจึงสาบนางกลับให้นางเป็นปีศาจชั่วกัปชั่วกัลย์ เมื่อได้ยินคำสาปของพระคเณศนางเกิดหวาดกลัวและร้องขอพระคเณศให้ถอนคำสาป พระคเณศจึงแก้คำสาปให้เบาลง ให้นางเป็นปีศาจเพียงชั่วเวลานึงเท่านั้นแล้วให้นางไปเกิดใหม่เป็นใบตุลสี นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมพระคเณศจึงไม่ชอบใบไม้ชนิดนี้


ใบจูตะ (Choota or Mango leaves) หรือใบมะม่วง มีคำกล่าวบูชาว่า "เอกทนตาย นมะ จูตปตรํ ปูชยามิ"


ใบกรวีระ (Karaveera) ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Thevetia Nerifolium คือต้นรำเพย หรือ ยี่โถฝรั่ง มีคำกล่าวบูชาว่า "วิกฏาย นมะ กรวีรปตรํ ปูชยามิ"


ใบวิษณุกรานตะ (Vishnu Kranta) ชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Evolvulus Alisnoides มีคำกล่าวบูชาว่า "ภินนทนตาย นมะ วิษณุกรานตปตรํ ปูชยามิ "


ใบทาฑิมิ (Daadimi or Pomegranate) คือใบทับทิม มีคำกล่าวบูชาว่า "วฏเว นมะ ทาฑิมีปตรํ ปูชยามิ"


ใบเทวมารุ (Devadaru) ชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Cedrus Deodora ใบเล็กกลมมีกลิ่นหอมป้องกันยุงและแมลงได้ดี มีคำกล่าวบูชาว่า "สรเวศวราย นมะ เทวทารุปตรํ ปูชยามิ"


ใบมรุวกะ (Maruvaka) หรือ มทนา ชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Origanum Vulgra กล่าวคำบูชาว่า "ผาล จนทราย นมะ มรุวกปตรํ ปูชยามิ"


ใบสินธุวาร (Sidhuvara) คือใบคนทีเขมา มีคำกล่าวบูชาว่า "เหรมทาย นมะ สินธุวารปตรํ ปูชยามิ"


ใบชาชี (Jaaji) คือใบจันทร์เทศ มีคำกล่าวบูชาว่า "ศุรุกรุณาย นมะ ชาชีปตรํ ปูชยามิ"


ใบคัณฑาลิ (Gandaki or Gandalee) มีดอกสีขาว มีคำกล่าวบูชาว่า "สุราครชาย นมะ คณฑาลิปตรํ ปูชยามิ" เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง พบมากทางใต้ของอินเดีย เติบโตได้ดีในที่แล้งจัด


ใบสมี (Shamee) มีคำกล่าวบูชาว่า "อภิวกตราย นมะ สมีปตรํ ปูชยามิ" เป็นพืชที่มีหนามแหลมและมักใช้เป็นสิ่งทดแทนการบูชาด้วยดอกไม้ในยามที่ดอกไม้ขาดแคลน


ใบอัศวัตถา หรือ อัสสัตถ คือไม้โพธิ์  มีคำกล่าวบูชาว่า "วินายกาย นมะ อศวตปตรํ ปูชยามิ"



ใบอรชุน ตรงกับไม้ไทยว่า ต้นสลักหลวง ต้นสลักป่า ต้นยอป่า มีคำกล่าวบูชาว่า "สุรเสวิตาย นมะ อรชุนปตรํ ปูชยามิ"


ใบอรก คือต้นรักของไทยเรา มีคำกล่าวบูชาว่า "กปิลาย นมะ อรปปตรํ ปูชยามิ"



    เมื่อครบ 21 วันแล้วก็ทำพิธีแห่รูปสักการะนั้นไปยังสระน้ำหรือแม่น้ำ ถ่วงไว้ในน้ำ อันหมายถึงเป็นการส่งเสด็จท่านไปยังไกรลาสและเชื่อว่าผ้บูชาจะได้รับพรแห่งความสำเร็จทุกอย่าง




























































































































    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น